บทที่ 1


โครงสร้างของเซลล์สิ่งมีชีวิต


 

                เซลล์ เป็นหน่วยหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย โดยทำหน้าที่ทางโครงสร้างและควบคุมการทำงานของสิ่งมีชีวิตนั้น เซลล์ทั้งหลายจะเกิดจากเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ก่อนแล้ว    

1.1. รูปร่างของเซลล์

                เซลล์สิ่งมีชีวิตมีขนาด และรูปร่างของไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับชนิดและหน้าที่ของเซลล์นั้น ๆ แต่เซลล์ทุกชนิดจะมีโครงสร้างอันเป็นมูลฐานใกล้เคียงกัน (รูปที่ 1.1)  คือ ประกอบด้วยโพรโทพลาซึมที่ถูกล้อมรอบด้วยเยื่อหุ้มบาง ๆ (Cell membrane) รูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะแตกต่างกันอย่างมากมาย โดยเฉพาะในพวกโปรโตซัว เช่น บางชนิดมีรูปร่างคงที่เพราะมีสารพวกซิลิกาเป็นส่วนประกอบ แต่บางชนิดจะมีรูปร่างไม่แน่นอน ในพืชและสัตว์ชั้นสูงที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก เซลล์เหล่านี้ก็จะมีรูปร่างแตกต่างกันไป เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่และตำแหน่งของเซลล์ในร่างกาย เช่น เซลล์อสุจิมีรูปร่างเรียวยาวและมีแฟลกเจลลา เพื่อให้สามารถเคลื่อนที่เข้าผสมกับไข่ได้รวดเร็ว เซลล์ประสาทมีรูปร่างยาวและแตกแขนงเพื่อส่งแรงกระตุ้นของกระแสประสาทไปได้รวดเร็ว เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างกลมเพื่อให้มีพื้นที่ผิวในการรับสัมผัสมากขึ้น เซลล์ที่อยู่ตามเส้นใบของพืชมีรูปร่างยาวเพื่อสะดวกในการลำเลียงสารต่าง ๆ เป็นต้น เซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวเมื่ออยู่ในกระแสเลือดจะมีรูปร่างไม่แน่นอน แต่ถ้าแยกมาอยู่เป็นเซลเดี่ยว ๆ จะมีรูปร่างแบบวงรี

 
 



1.2. ขนาดของเซลล์

                เซลล์แต่ละชนิดมีขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าจนกระทั่งสัมผัสได้ เช่น เซลล์ของ Mycoplasma ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีขนาดเล็กมาก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2 – 0.4 ไมโครเมตร จึงไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เซลล์ไข่ของสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลานเป็นเซลล์ที่สัมผัสได้ ไข่นกบางชนิดมีเส้นผ่าศูนย์กลางหลายเซนติเมตร (รูปที่ 1.2)  ในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์มากมาย โดยที่เซลล์ประสาทจะมีขนาดใหญ่ที่สุด รองลงมาได้แก่ เซลล์กล้ามเนื้อลาย รวมทั้งเซลล์ผิวหนัง ตับ ไต และลำไส้โดยจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 30 ไมโครเมตร เซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 ไมโครเมตร เซลล์ไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 มม. และมีปริมาตรมากเป็นหนึ่งล้านเท่าของเซลล์อสุจิ สำหรับหน่วยที่ใช้วัดขนาดและโครงสร้างของเซลล์มีหลายชนิด เช่น อังสตรอม (angstrom) นาโนเมตร (nanometer) ไมโครเมตร (micrometer) และมิลลิเมตร (millimeter)

 



 

 
 
 

1.3. ชนิดของเซลล์ จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างของเซลล์ในสิ่งมีชีวิต ทำให้แบ่งเป็น 2 พวกตามลักษณะของนิวเคลียสกล่าวคือ

                . โปรคารีโอติคเซลล์ (procaryotic cell) เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสห่อหุ้ม โครโมโซมหรือสารพันธุกรรม ได้แก่ แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และไมโคพลาสมา

                . ยูคารีโอติคเซลล์ (eucaryotic cell) เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสห่อหุ้มโครโมโซม ได้แก่ ยีสต์ รา โปรโตซัว สาหร่ายอื่น ๆ พืชและสัตว์ต่าง ๆ


รูปที่ 1.3. ลักษณะและองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์โปรคาริโอต และยูคาริโอต

 

ข้อแตกต่างระหว่างเซลล์โปรคารีโอตและยูคารีโอตของทั้งเซลล์พืชและสัตว์ สรุปดังตารางที่ 1.1.

ตารางที่ 1.1.  โครงสร้างของเซลล์โปรคารีโอต และยูคารีโอต



 


โครงสร้าง


 

โปรคารีโอต

 

ยูคารีโอต

พืช

สัตว์

ผิวเซลล์


- ผนังเซลล์

- เยื่อหุ้มเซลล์

 

 

+

+

 

+

+

 

-

+

นิวเคลียส


- สารพันธุกรรม

- โครโมโซม

 

- เยื่อหุ้มนิวเคลียส

- นิวคลีโอลัส

 

 

DNA

มีเพียงหนึ่งเป็น

วงกลม

-

-

 

DNA

มีหลายอันมีลักษณะเป็นแท่งโครโซม

+

+

 

DNA

เหมือนพืช

 

+

+

ไซโทพลาสซึม


- ไบโทคอนเดรีย

- คลอโรพลาสต์

- ไรโบโซม

- เอนโดพลาสมิก เรติคูลัม

-กอลไจ คอมเพล็กซ์

-ไลโซโซม

-แวคิวโอล

-ไซโทสกีลีตัล

-เซนทริโอล

-แฟลกเจลลา, ซีเลีย

 

 

-

-

ขนาดเล็ก 70S

-

-

-

-

-

-

มีโรงสร้างแบบง่าย

 

+

+

ขนาด 80S

+

+

+

+

+

-

-

 

+

-

ขนาดของ 80S

+

+

+

+

+

+

โครงสร้าง9+2

หมายเหตุ (+ = มี, - = ไม่มี)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น