วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบในการออกแบบ



 องค์ประกอบในการออกแบบ
การออกแบบกราฟิกเพื่อการสื่อความหมาย จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ 9 ประการ คือ เส้น, รูปร่าง, รูปทรง, ขนาด, ทิศทาง, ที่ว่าง, ลักษณะผิว, ความเข้ม และสี ผู้ที่ทำการออกแบบจะต้องศึกษาองค์ประกอบ ในการออกแบบให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อที่จะนำมาใช้ในงานออกแบบต่างๆได้อย่างเหมาะสม และมีคุณค่าในทางศิลปะ



องค์ประกอบในการออกแบบ แบ่งเนื้อหาได้ดังนี้ :


2.1. เส้น : 2.2. รูปร่าง : 2.3. รูปทรง : 2.4. ขนาด : 2.5. ทิศทาง : 2.6. พื้นที่ว่าง : 2.7. ลักษณะพื้นผิว : 2.8. ค่าน้ำหนักสี : 2.9. สี : 2.10. สรุปเกี่ยวกับสี

2.1. เส้น (Line)
เส้นมีความยาว และมีมิติเดียว ในทางเรขาคณิต เส้น หมายถึงจุดที่มาเรียงกัน จนสามารถแสดงเป็นแนวตั้ง แนวนอน เป็นเส้นโค้ง เป็นเส้นหัก แสดงทิศทางทำให้เกิดรูปร่าง เส้นสามารถแสดงให้เห็นความเคลื่อนไหว แสดงความเร็วได้ เส้นในลักษณะต่างๆ เมื่อนำมาบรรจบกันก็จะทำให้เกิดรูปร่างขึ้น
เนื่องจากเส้นมีหลายลักษณะต่างกัน จึงมีความหมาย และคุณค่าไม่เหมือนกัน ซึ่งพอจะแยกลักษณะ และคุณค่าของเส้นแต่ละชนิดได้ดังนี้




เส้นตั้ง (Vertical Lines)
ให้ความรู้สึก สูง แข็งแรง มีระเบียง


 
เส้นนอน (Horizontal Lines)
ให้ความรู้สึก สงบ ร่มเย็น ราบเรียบ
เส้นทแยง (Diagonal Lines)
ให้ความรู้สึก ความเคลื่อนไหว หรือการไม่อยู่นิ่ง
เส้นปะ ให้ความรู้สึก ความไม่เป็นระเบียบ
เส้นโค้ง (Curved Lines)
ให้ความรู้สึก อ่อนช้อย นิ่มนวล
เส้นซิกแซก (Zigzag Lines)
ให้ความรู้สึก ตะกุกตะกัก ไม่เรียบร้อย
เส้นแรกจนถึงเส้นสุดท้ายจะเริ่มจากเส้นตรงไปสู่เส้นโค้ง เส้นที่ 1 กับ 2 หรือ 5 กับ 6 จะมีความใกล้เคียงกัน หรือกลมกลืนกัน (Harmony of Line) เป็นเส้นที่ 1 กับ 6 จะขัดแย้งกันตรงข้ามกัน (Contrast of Line)


 

การออกแบบกราฟฟิก



 การออกแบบกราฟฟิก
หลักการออกแบบหรือการจัดองค์ประกอบศิลปะ คือ การนำเอา เส้น รูปทรง ค่าของน้ำหนัก สี และพื้นผิว มาจัดวางลงในที่ว่าง ส่วนประกอบของการออกแบบได้มาปรากฏตัวอยู่ในที่ว่าง ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นในเรื่องของการสร้างภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ ขึ้นในที่ว่างของภาพ ซึ่งเรียกว่าองค์ประกอบทางรูปธรรม และยังมีองค์ประกอบทางนามธรรม ซึ่งหมายถึงเนื้อหาสาระอีกส่วนหนึ่งด้วย และในที่นี้จะกล่าวถึงหลักการออกแบบ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะ

หลักการออกแบบประกอบด้วย :

3.1. จังหวะ : 3.2. การแปรเปลี่ยน : 3.3. ความกลมกลืน : 3.4. ความตัดกัน : 3.5. สัดส่วน : 3.6. ความสมดุล : 3.7. การเน้น : 3.8. เอกภาพ
3.1. จังหวะ (Rhythm)
จังหวะเป็นหลักการหนึ่งของการออกแบบซึ่งมีพื้นฐานมาจากการซ้ำกัน (Repetition) จังหวะเป็นการนำเอาส่วนประกอบของการออกแบบรวมเข้าไว้ด้วยกัน

นพวรรณ (2540: 173-178) ได้แบ่งจังหวะออกเป็น 3 ชนิดคือ

3.1.1. จังหวะที่ซ้ำกัน : 3.1.2. จังหวะที่สลับกัน : 3.1.3. จังหวะที่ต่อเนื่องกัน



3.1.1. จังหวะที่ซ้ำกัน (Repetition Rhythm)
คือ วิธีการเน้นอย่างหนึ่งที่ต้องการให้เห็นชัดเจน โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง มาจัดวางลงในกรอบพื้นที่มากกว่าหนึ่งครั้ง โดยมีระยะเคียงเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ การสร้างภาพให้ดูกลมกลืน และเป็นจังหวะ ถ้าหน่วยของรูปทรงมีขนาดใหญ่ และใช้จำนวนน้อย งานออกแบบจะดูง่าย ท้าทาย แต่ถ้าใช้รูปทรงเล็กจำนวนมาก จะให้ความรู้สึกเป็นผิวสัมผัส
เลอสม (2537: 89-91) ได้กล่าวถึงการสร้างภาพด้วยวิธีการทำซ้ำได้หลายวิธีดังนี้

การซ้ำด้วยรูปร่าง (Shape) รูปร่างเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์ประกอบ ถ้ารูปร่างซ้ำกัน ยังคงสร้างความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบ ได้ด้วย ขนาด สี และผิวสัมผัส

แสดงการซ้ำด้วยรูปร่าง


การซ้ำด้วยขนาด (Size) การสร้าง รูปทรงให้มีขนาดเท่าๆกัน มักจะเป็นไปได้ที่รูปทรงนั้นมีรูปร่างซ้ำหรือรูป ร่างคล้ายคลึงกัน

แสดงการซ้ำด้วยขนาด


การซ้ำด้วยสี (Color) รูปทรงทุกรูปมีสีเหมือนกัน แต่จะแตกต่างในเรื่องของรูปร่าง และขนาด

แสดงการซ้ำด้วยสี


การซ้ำด้วยผิวสัมผัส (Texture) มีผิวสัมผัสเหมือนกัน แต่อาจจะมีรูปร่าง ขนาด และสีแตกต่างกัน

แสดงการซ้ำด้วยผิวสัมผัส


การซ้ำด้วยทิศทาง (Direction) การสร้างภาพให้มีทิศทางซ้ำกันนั้น จะทำได้ต่อเมื่อรูปทรงแต่ละรูปแสดงให้เห็น และรู้สึกถึงทิศทางของรูปทรงชัดเจน

แสดงการซ้ำด้วยทิศทาง


การซ้ำด้วยตำแหน่ง (Position) การจัดรูปทรงให้มีตำแหน่งซ้ำนั้น จะต้องสัมพันธ์กับโครงสร้างของภาพ รูปทรงแต่ละรูปอาจจะเว้นระยะห่างเท่า ๆ กันทุกทิศทางจากกรอบย่อยของโครงสร้าง

แสดงการซ้ำด้วยตำแหน่ง


การซ้ำด้วยที่ว่าง (Space) รูปทรงทุกรูปจะครอบคลุมที่ว่าง เช่นเดียวกันทั้งหมด (Positive Form) หรือพื้นภาพโดยรอบรูปทรงนั้นจะถูกครอบคลุม โดยเว้นพื้นที่ว่างเป็นรูปทรงไว้ (Negative Form)

แสดงการซ้ำด้วยที่ว่าง


การซ้ำด้วยแรงดึงดูด (Gravity) การซ้ำวิธีนี้ค่อนข้างยากที่จะแสดงได้ว่า รูปทรงต่างๆ มีแรงดึงดูดในภาพเท่ากันให้ ความรู้สึก หนักหรือเบา มั่นคงหรือไม่มั่นคงเท่ากัน ยกเว้น การจัดวางองค์ประกอบอยู่ ในลักษณะซ้ำที่ไม่มีการแปรเปลี่ยน

แสดงการซ้ำด้วยแรงดึงดูด

3.1.2. จังหวะที่สลับกัน (Alternation Rhythm)
คือจังหวะของสองสิ่ง หรือมากกว่าซึ่งสลับกันไปมาเป็นช่วงๆ เป็นลักษณะที่ทำให้ไม่เห็นการซ้ำเด่นชัดมากเกินไป ทำให้มีลักษณะแปลกออกไปอีกแบบหนึ่ง เช่น 1,1,2,2,1,1,..........etc ดังภาพตัวอย่าง


ภาพแสดงจังหวะที่สลับกัน 1,1,2,2,1,1

3.1.3. จังหวะที่ต่อเนื่องกัน (Continuous Rhythm)
คือการจัดช่วงจังหวะให้มีความต่อเนื่องกัน จังหวะแบบนี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงไปเรื่อยๆ โดยมีสี ค่าน้ำหนักของสี หรือพื้นผิวเป็นตัวแปร ดังภาพตัวอย่างดังนี้




ภาพแสดงจังหวะที่ต่อเนื่องกันทำให้เกิดระยะใกล้ไกลขึ้นภาพแสดงจังหวะที่ต่อเนื่องกันโดยที่แผ่น CD ค่อยๆขยายจากเล็กมาใหญ่



 

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

บทที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์




วิทยาศาสตร์ประกอบด้วย ความรู้ (Science Knowledge) และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้
1.1 ความรู้ (Science Knowledge
1. ข้อมูล (Data)
2. ข้อเท็จจริง (Fact)
3. ข้อสรุป (Conclusion)
4. กฎ (Law)
5. ทฤษฎี (Theory)
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process)
1. การกำหนดปัญหา
2. การตั้งสมมติฐาน
3. การตรวจสอบสมมติฐาน
4. การแปรผลและสรุปผลการทดลอง
การออกแบบการทดลอง
- กลุ่มทดลอง
- กลุ่มควบคุม
- ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ
- ตัวแปรตาม (Dependent Variable)
- ตัวแปรควบคุม (Controlled Variable)

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดจากการคิดและการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์จนเกิดความชำนาญและความคล่องแคล่วในการใช้ เพื่อแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนหาวิธีการเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
3. ทักษะการจำแนกประเภท
4. ทักษะการใช้ตัวเลข
5. ทักษะการวัด
6. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
7. ทักษะการพยากรณ์
8. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

1.ทักษะการสังเกต (Observation)


ทักษะการสังเกต หมายถึงกระบวนการหรือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป

ประสาทสัมผัส
1. ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู
2. ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง
3. ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น
4. ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส
5. ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส
การสังเกต
1. การสังเกตเชิงคุณภาพ
2. การสังเกตเชิงปริมาณ
3. การสังเกตเชิงเชิงเปรียบเทียบ
4. การสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง

การบันทึกผลการสังเกต
- บันทึกในตาราง
- บันทึกข้อมูลบันทึกข้อมูลเป็นคำบรรยาย
- บันทึกเป็นรูปภาพ ภาพถ่าย ภาพนิ่ง
- บันทึกเป็นภาพยนตร์และเสียง

การขยายขอบเขตของการสังเกต
การขยายขอบเขตของการสังเกตเป็นการลดความคลาดเคลื่อน ของข้อมูลที่ได้จากการสังเกต เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องตามสภาพจริงและน่าเชื่อถือโดยอาจใช้เครื่องมือช่วยขยายขอบเขตของประสาทสัมผัส ใช้การสังเกตซ้ำหลายๆ ครั้ง หรือโดยการสังเกตหลายๆ คน

2. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครอบครองอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะ เช่นเดียวกับวัตถุ โดยทั่วไปสเปสของวัตถุจะมี 1 มิติ (ความยาว), 2 มิติ (ความกว้างและความยาว) และ 3 มิติ (ความกว้างความยาวและความสูง)

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
หมายถึงความสามารถหรือความชำนาญ ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติของวัตถุกับวัตถุและมิติของวัตถุกับเวลาได้แก่รูปหนึ่งมิติ สองมิติและสามมิติ รวมไปถึงความสามารถในการระบุรูปฉายและ รูปคลี่ได้

2.1การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส
ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 มิติ กับ 2 มิติ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง

2.2 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลา หรือความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุ ที่เปลี่ยนไปกับเวลา

ความสามารถที่แสดงให้เห็นว่าเกิดทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส
คือการบ่งชี้รูป 2 มิติ และ 3 มิติได้ สามารถวาดภาพ 2 มิติจากวัตถุหรือภาพ 3 มิติได้

ความสามารถที่แสดงให้เห็นว่าเกิดทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
คือ การบอกตำแหน่งและทิศทางของวัตถุโดยใช้ ตนเองหรือวัตถุอื่น เป็นเกณฑ์ บอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่ง เปลี่ยนขนาดหรือปริมาณของวัตถุกับเวลาได้

3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)


การจำแนก หมายถึงกระบวนการจำแนกหรือจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือ จัดจำพวก

4. ทักษะการวัด (Measurement)


การวัดคือกระบวนการเปรียบเทียบปริมาณที่ต้องการวัดกับหน่วยที่เป็นมาตรฐานโดยอาศัยเครื่องมือวัดที่ถูกต้องและเหมาะสม การวัดประกอบด้วย เครื่องมือวัด วิธีการวัดและหน่วยที่เป็นมาตรฐาน
การวัดจะต้องมุ่งให้ผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
1. เลือกใช้เครื่องมือวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างเหมาะสม
2. บอกเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้
3. บอกวิธีการใช้เครื่องมือวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้ย่างถูกต้อง
4. สามารถใช้เครื่องมือวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างคล่องแคล่ว
5. สามารถใช้ตัวเลขแทนจำนวนที่วัดได้พร้อมระบุหน่วยกำกับได้ถูกต้อง

5. ทักษะการคำนวณ (Using Number)


การคำนวณเป็นการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร การแก้สมการ การหาค่าเฉลี่ยการเขียนกราฟ ฯลฯ มาใช้แก้ปัญหาหรือช่วยในการค้นคว้าได้อย่างเหมาะสม

6.ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล



การจัดกระทำข้อมูลเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวัด การสังเกต การทดลอง และจากแหล่งต่างๆ มาจัดกระทำอย่างเป็นระบบ โดยการเรียงลำดับ จำแนกประเภท จัดหมวดหมู่ จัดทำตารางความถี่ หรือนำมาคำนวณหาค่าอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ข้อมูลมีความชัดเจนและเกิดความเข้าใจที่ตรงกันของผู้ศึกษา
ข้อมูล
ข้อมูล หมายถึงข้อเท็จจริงที่จะนำไปใช้ในการอ้างอิงหรือคำนวณ
1. ข้อมูลดิบ
2. ข้อมูลที่จัดกระทำแล้ว

การสื่อความหมาย
การสื่อความหมายเป็นความสามารถในการใช้ภาษาพูด หรือการเขียนบรรยายรวมทั้งการเขียนแผนภาพ แผนที่ ตาราง กราฟหรือสร้างสื่ออื่นๆประกอบการพูดหรือการเขียนบรรยาย เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ต้องการได้อย่างชัดแจ้งและ รวดเร็ว การสื่อความหมายเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญ ไม่ใช่เฉพาะทางวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่เป็นกระบวนการที่สำคัญทุกกิจกรรม

การสื่อความหมาย
1. การสื่อความหมายโดยการพูดหรือการเขียนบรรยาย
2. การสื่อความหมายโดยการใช้แผนภาพ
3. การสื่อความหมายโดยการใช้ตาราง
4. การสื่อความหมายโดยการใช้กราฟ

7. ทักษะการทำนายหรือการพยากรณ์


การทำนายหรือการพยากรณ์ หมายถึงการทำนายผล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูล หลักการ กฎ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนาย

8. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
การลงความเห็นจากข้อมูล หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส สัมผัสวัตถุหรือเหตุการณ์ให้ได้ข้อมูล อย่างหนึ่ง แล้วเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปให้กับข้อมูลนั้น ความคิดเห็นส่วนตัวอาจได้มาจาก ความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม หรือเหตุผลต่าง ๆ ดังนั้นการลงความเห็นจากข้อมูล จึงมีลักษณะ อธิบายหรือสรุปเกินข้อมูลที่ได้จากการสังเกต เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป

9. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม
1. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
2. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน
3. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
4. ทักษะการทดลอง
5. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

1. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร แปร เป็นการชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ
2. ตัวแปรตาม หรือตัวแปรซึ่งเป็นผลมาจากตัวแปรต้น
3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม หรือตัวแปรคงที่

2. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน
ทักษะการตั้งสมมติฐาน คือ การคิดหาคำตอบล่วงหน้า ก่อนจะทำการทดสองโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิม เป็นพื้นฐานคำตอบที่คิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบ หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน สมมติฐาน หรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้า มักกล่าวไว้เป็นข้อความ ที่บอก ความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรต้น กับตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูก หรือผิดก็ได้ ซึ่งจะทราบภายหลัง การทดลอง หาคำตอบเพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้

3. ทักษะการทดลอง



1. ทักษะการออกแบบการทดลอง
2. ทักษะการปฏิบัติการทดลอง
3. ทักษะการบันทึกผลการทดลองและการสรุปผลการทดลอง

4.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ (ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องทดลอง) ให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดไว้ รวมทั้งการกำหนดข้อความซึ่งใช้สื่อความหมายในทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน และเป็นประโยชน์ในการที่จะทำการทดลอง หรือตรวจสอบได้ด้วย การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ จึงมีจุดประสงค์เพื่อ ให้เข้าใจตรงกันและให้สังเกตหรือวัด หรือตรวจสอบได้ง่าย

5. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะการแปลความหมายข้อมูล หมายถึง ความสามารถในการบรรยายลักษณะ และสมบัติของข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องและเข้าเป็นที่ใจตรงกัน ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะนำเสนอในรูปแบบใด เช่น ในรูปของกราฟ แผนภาพ แผนที่ หรืออื่น ๆ การลงข้อสรุป หมายถึง การบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีอยู่
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล เป็นการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากากรสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

ไมโครเวลเพลท (microwellplate)



 

ไมโครเวลเพลท (microwell plate) หรือ ไมโครไทเทอร์เพลท (microtiter plate) มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่มีช่องหรือหลุมเล็กๆ จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ ใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่ตัวอย่างหน้าที่คล้ายหลอดทดลองขนาดเล็ก โดยทั่วไปแล้ว microplate จะมีช่องหรือหลุมใส่ตัวอย่าง จำนวน 6, 24, 96,384 หรือ 1536 ช่อง ขนาดของช่องก็แตกต่างกันไป มีทั้งช่องชนิดกลมและสี่เหลี่ยม สามารถบรรจุสารตัวอย่างได้ระดับนาโนลิตร ถึง มิลลิลิตร
วัสดุที่ใช้ผลิตไมโครเพลทก็มีหลายชนิด หากใช้พลาสติกชนิดพอลีสไตลีน จะใช้งานทางด้านการตรวจวัดเชิงแสง ไมโครเพลทบางชนิดก็ผลิตเป็นสีขาวโดยการผสมไทเทเนียมออกไซด์ ใช้สำหรับวัดค่าการดูดกลืนแสง(absorbance) และการวัดการเปล่งแสง(luminescence) หากต้องการสีดำก็จะผสมคาร์บอนลงไป ใช้ในงานทดสอบทางด้านชีววิทยา เมื่อใช้พลาสติกชนิดพอลิพอพิลีน ก็สามารถทนต่อความเย็นถึง -80 องศาเซลเซียสได้ นอกจากนั้นวัสดุที่ใช้ผลิตไมโครเพลท ยังใช้แก้ว หรือแก้วควอทซ์ เพื่อการใช้งานในลักษณะที่มีลักษณะเฉพาะอีกด้วย
ไมโครเพลทจึงเป็นอุปกรณ์ที่ประยุกต์ใช้ในงานได้หลากหลายด้าน เช่นการวิเคราะห์ วิจัย การทดสอบในห้องปฏิบัติการทางด้านคลินิก ฯลฯ  โดยใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับการกรองสาร การแยกสาร การเก็บสาร การผสมสารเพื่อทำปฏิกิริยา การเพาะเลี้ยงเซลล์ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น